หมากเหลือง เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่เป็นที่นิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะมีความสวยงาม มีความทนต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคารและคายความชื้นให้แก่อากาศภายในห้องได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมากเช่นกัน หมากเหลืองเป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5–10 เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม เจริญพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5–12 ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนก แผ่นใบมีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อนเป็นอยู่ใต้กาบใบ ภายใต้สภาพแวดล้อมห้อง หมากเหลืองขนาดสูง 1.8 เมตรจะคายน้ำประมาณ 1 ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง ในบรรดาไม้ประดับดูดสารพิษด้วยกัน หมากเหลือง เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณมากที่สุดชนิดหนึ่งที่แนะนำให้ปลูกไว้ใน อาคารสำนักงาน หรือ บ้านเรือน
วงศ์ PLAMAE
ถิ่นกำเนิด มาดากัสก้า
แสงแดด แดดจัด
อุณหภูมิ 18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำมาก
การดูแล ควรให้น้ำตอนเช้าวันละครั้ง แต่อย่าให้แฉะ ให้ปุ๋ยคอกอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง หมั่นฉีดพ่นใบด้วยละอองน้ำ จะช่วยป้องกันแมลงได้
การปลูก นิยมปลูกลงกระถาง โดยใช้ดินที่สมบูรณ์ มีส่วนผสมของดินร่วน ทรายแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ผุ ในอัตราส่วน 4:2:1:2:1
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ดหรือแยกกอ
อัตราการคาย ความชื้น มาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก
ประโยชน์และสรรพคุณต้นหมากเหลือง
ผู้คนในสยามประเทศนับล่วงเวลา 30-40 ปีขึ้นไป นิยมกินหมาก โดย การนำหมากเคี้ยวกับพลูและปูนแดง ผู้เฒ่าผู้แก่ไปไหนมาไหนจึงมักจะ กระเตงเชี่ยนหมากติดตัวไปด้วย หรือหากอายุมากแล้วก็จะเป็นภาระของบุตร หลานที่ต้องถือไปให้ท่าน ในเชี่ยนหมากจะพบลูกหมาก พลู ปูนแดง มีดหั่น หมาก ตะบันหมาก ผ้าเช็ดปาก และกระป๋องนมข้นเปล่า (ปัจจุบันพบว่าใช้ถุง พลาสติก) สำหรับบ้วนน้ำหมาก ผู้กินหมากปากจะแดงไปด้วยสีของน้ำหมาก และฟันจะมีสีน้ำตาลแดงจนสีดำเข้ม อันเนื่องมาจากคราบของแทนนิน แต่ ปัจจุบันจะพบเห็นผู้ที่กินหมากน้อยลง หมากจึงเป็นสัญลักษณ์ของความ คร่ำครึโบราณ แต่แท้จริงแล้วหมากยังคงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มาก ในด้านการรักษาโรคของมนุษย์และสัตว์
หมากเป็นพืชในวงศ์ Palmae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Areca catechu Linn. ชื่อทั่วไปภาษาอังกฤษว่า Areca palm หรือ betel nut palm สำหรับชื่อท้องถิ่น ได้แก่ เค็ด พลา สะลา เซียด (จังหวัดนครราชสีมา) แซ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ปีแน ปีนัง (มาเลเซีย) มะ (ตราด) สีซะ (กะเหรี่ยง พายัพ) หมาก หมากเมีย (ชื่อทั่วไปไทยภาคกลาง) หมากมู้ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) โดยหมากมีถิ่นกำเนิด ในทวีปเอเชียเขตร้อน
หมากมีลำต้นโต ลำต้นโดยธรรมชาติจะตั้งตรงสูงชะลูดเป็นปล้อง ไม่มี กิ่งก้านตามลำต้น แตกกิ่งก้านใบอยู่ที่ยอดของลำต้น ใบเล็กยาวมาก ดอกออก เป็นช่อ ลูกออกเป็นพวงเรียกว่า ทะลายหมาก ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ ผลที่แก่จัดเรียก หมากสง เนื้อหมากที่ฝานบางๆ แล้วตากแห้ง มีลักษณะคล้าย อีแปะ เรียก หมากอีแปะ ส่วนผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนานๆ เรียก หมากยับ หมากดิบมีสีเขียวจัดเมื่อแก่จัดจะมีสีแสด เมล็ดหมากมีลักษณะ เกือบกลม เมื่อผ่าตามขวาง จะเห็นลายภายในสีน้ำตาลแก่สลับขาว เหมือน ลายหินอ่อน มีรสฝาดเฝื่อน
ที่มา http://www.poolprop.com
หมากเป็นพืชในวงศ์ Palmae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Areca catechu Linn. ชื่อทั่วไปภาษาอังกฤษว่า Areca palm หรือ betel nut palm สำหรับชื่อท้องถิ่น ได้แก่ เค็ด พลา สะลา เซียด (จังหวัดนครราชสีมา) แซ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ปีแน ปีนัง (มาเลเซีย) มะ (ตราด) สีซะ (กะเหรี่ยง พายัพ) หมาก หมากเมีย (ชื่อทั่วไปไทยภาคกลาง) หมากมู้ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) โดยหมากมีถิ่นกำเนิด ในทวีปเอเชียเขตร้อน
หมากมีลำต้นโต ลำต้นโดยธรรมชาติจะตั้งตรงสูงชะลูดเป็นปล้อง ไม่มี กิ่งก้านตามลำต้น แตกกิ่งก้านใบอยู่ที่ยอดของลำต้น ใบเล็กยาวมาก ดอกออก เป็นช่อ ลูกออกเป็นพวงเรียกว่า ทะลายหมาก ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ ผลที่แก่จัดเรียก หมากสง เนื้อหมากที่ฝานบางๆ แล้วตากแห้ง มีลักษณะคล้าย อีแปะ เรียก หมากอีแปะ ส่วนผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนานๆ เรียก หมากยับ หมากดิบมีสีเขียวจัดเมื่อแก่จัดจะมีสีแสด เมล็ดหมากมีลักษณะ เกือบกลม เมื่อผ่าตามขวาง จะเห็นลายภายในสีน้ำตาลแก่สลับขาว เหมือน ลายหินอ่อน มีรสฝาดเฝื่อน
ที่มา http://www.poolprop.com
ขอบคุณคร้าบ
ตอบลบ