วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ลิ้นมังกร

               
              ลิ้นมังกรเป็นพืชที่มีลักษณะโดดเด่นที่ใบสวยงามแปลกตา ปลูกได้ทั้งภายนอกอาคาร และปลูกลงในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและบ้านเรือน ถึงแม้จะเป็นพืชที่โตช้าแต่ก็ปลูกง่ายและทนทาน
ลิ้นมังกรนั้นมีหลายชนิด เช่น ลิ้นมังกรสั้น ลิ้นมังกรยาว ลิ้นมังกรลาย หรือเรียกว่าหอกพระอินทร์ ลิ้นมังกรมีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบโผล่พ้นดินเป็นใบยาวแหลมคล้ายหอกแข็งตั้งตรงสูงประมาณ 1 เมตร ใบสีเขียว มีลายตามแนวขวาง ลิ้นมังกรยาวจะมีสีเหลืองบริเวณขอบใบเป็นแนวยาว ดอกมีสีขาวอมเขียวถึงแม้คุณสมบัติในการดูดสารพิษของลิ้นมังกรจะไม่มากนัก แต่คุณสมบัติเด่นของลิ้นมังกรอยู่ที่เป็นพืชที่คายออกซิเจนออกมาตอนกลางคืนและดูดคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป จึงเหมาะที่จะปลูกไว้ในห้องนอน

สรรพคุณทางยา:

-ใบ ของลิ้นมังกรมีรสขม มีสรรพคุณแก้อาการเจ็บคอ บำรุงปอด แก้โรคติดเชื้อในบางระบบทางเดินหายใจส่วนบน ใบใช้ตำหรือขยี้แล้วนำไปทาหรือพอกบริเวณแผลที่อักเสบช่วยให้ทุเลาอาการลงได้

ลักษณะทั่วไป:

-ต้น เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน ใบเกิดจากหัวโผล่ออกมาพ้นดินประกอบกันเป็นกอ
-ใบ เป็นแท่งกลมยาวหรือใบแบนกว้าง ปลายแหลม แข็ง หนาเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อยหรือเป็นเกลียว ใบมีความกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าตามแต่สายพันธุ์นั้น ๆ สีสันของใบลิ้นมังกรจะมีสีเขียวซีดจนถึงสีเขียวเข้ม บางสายพันธุ์ใบมีสีเขียวเข้มขอบใบมีสีเหลืองทอง หรือใบมีสีเหลืองและมีสีขาวเป็นเส้นตามแนวใบ สีขาวประ สีเขียวอมเหลือง เขียวอมด่าง สีฟ้า และลักษณะลวดลายบนใบที่มีความแตกต่างและสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ ละสายพันธุ์
-ดอก ลิ้นมังกรมักจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ดอกมีสีขาวหรือสีเขียวอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมี 5 กลีบขนาดเล็กประมาณ 1.5 เซนติเมตร เรียงเป็นแนวตามชั้นของก้านดอก สามารถจำแนกการออกดอกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
- spike-like raceme ลักษณะการออกดอกเรียงเป็นแนวตามชั้นของก้านดอก ขนานกับใบ
- panicle raceme ลักษณะการออกดอกเรียงเป็นแนวตามการแตกกิ่งที่แผ่ออกของก้านดอก
- capitate raceme ลักษณะการออกดอกยื่นสูงเป็นพุ่มเดี่ยวที่ปลายก้านดอก


ที่มา  http://www.poolprop.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น