วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ต้นกันเกรา

                                                                     
      ต้นกันเกรา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น   ต้นกันเกรา ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น มันปลา (ภาคเหนือ ภาคอีสาน), ตำแสง ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำมูซู ตะมะซู (มลายู-ภาคใต้) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดตามป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้กับแหล่งน้ำ ในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย เวียดนาม และอินเดีย สำหรับในบ้านเราต้นกันเกราขึ้นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย แต่จะพบได้มากทางภาคใต้

สรรพคุณของกันเกรา

-แก่นกันเกรา มีรสเฝื่อน ฝาดและขม สรรพคุณช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น)
-สมุนไพรกันเกรา แก่นช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น)
-สรรพคุณกันเกรา เปลือกต้นช่วยบำรุงโลหิต (เปลือกต้น)
-ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (แก่น)
-ช่วยแก้เลือดพิการ (แก่น)
-แก่นกันเกรา มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองได้ (แก่น)
-ช่วยแก้อาการท้องมานลงท้อง (แก่น)
-ช่วยขับลมในกระเพาะ (แก่น)
-ช่วยแก้มูกเลือด (แก่น)
-ช่วยรักษาริดสีดวง (แก่น)
-สรรพคุณต้นกันเกรา แก่นช่วยบำรุงม้าม (แก่น)
-ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนังและร่างกายได้ (แก่น)
-ช่วยรักษาผิวหนังพุพอง ปวดแสบปวดร้อน (เปลือกต้น)
-แก่นและใบเมื่อนำมาผสมกันจะใช้แก้โรคเส้นติดขัดได้ (แก่น,ใบ)
-ใบและผลมีสารคาลอยด์ที่ชื่อว่า Gentianine ซึ่งมีฤทธิ์ในการแก้ปวด แต่ไม่มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย (ใบ,ผล)

ลักษณะของกันเกรา

-ต้นกันเกรา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร (อาจสูงได้ถึง 25 เมตร) เปลือกต้นเรียบมีสีน้ำตาล เมื่อต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ
-ใบกันเกรา ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบเป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร
-ผลกันเกรา ลักษณะผลเป็นผลเดี่ยวทรงกลม มีรสขม เส้นผ่านผ่าศูนย์กบางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ผิวเรียบเป็นมัน มีติ่งแหลมๆสั้นๆ อยู่ตรงปลายสุด ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดงเลือดนก จะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และในผลมีเมล็ดเล็กๆจำนวนมาก สีน้ำตาลไหม้ มีรูปทรงไม่แน่นอน ฝังอยู่ในเนื้อนุ่มๆ สีแดง

ประโยชน์ของกันเกรา
 
  -ประโยชน์ของต้นกันเกรา สามารถปลูกไว้เป็นไม้ประดับได้ เพราะมีความสวยงามและดอกมีกลิ่นหอมสดชื่น กลิ่นไม่ฉุนไม่เหมือนใคร ปลูกง่ายแข็งแรงทนทาน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือในที่สาธารณะได้ ทั้งยังเป็นไม้มงคล 1 ใน 9 ชนิดอีกด้วย เช่นเดียวกับ ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ ทรงบาบาล ต้นสัก พะยูง ทองหลาง ไผ่สีสุก และต้นขนุน ที่คนนิยมนำมาใช้ในพิธีกรรมในตอนก่อสร้างบ้านเรือนเพื่อความเป็นสิริมงคล
 -ไม้กันเกรา เป็นไม้มงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์
 -กันเกรา ประโยชน์ของใบอ่อนกัน สัตว์ป่าชอบกินเป็นอาหาร
 -ผลกันเกราใช้เป็นอาหารของนกและค้างคาวได้
 -ประโยชน์ของกันเกรา เนื้อไม้ของต้นกันเกรามีสีเหลืองอ่อน มีเสี้ยนตรง เนื้อมีความละเอียด ตกแต่งได้ง่าย ขัดเงาก็งดงาม ทนปลวกได้ดี ที่สำคัญยังเหนียวทนทานแข็งแรงอีกด้วย เหมาะแก่การนำมาใช้ก่อสร้าง เช่น การทำเสาเรือน เสารั้ว เสาสะพาน กระดานปูพื้น ผนัง ประตู หน้าต่าง ทำรอด ตง อกไก่ เชิงชาย วงกบประตู ห้าต่าง เครื่องไม้เครื่องมือทางการเกษตร มีด จอบ พร้า ขวาน เครื่องเรือน โต๊ะ ตู้ เตียง เก้าอี้ เครื่องกลึง เครื่องใช้ต่างๆ กระดูกงู โครงเรือ เสากระโดงเรือ เฟอร์นิเจอร์ไม้กันเกรา ทำโลงศพของชาวจีน (หีบจำปา) หมอรางรถไฟ หรือนำไปใช้ในงานแกะสลักต่างๆ เป็นต้น เพราะลักษณะของลำต้นนั้นลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้มีความสวยงามเป็นพิเศษ
ดอกกันเกรานำมาใช้ในพิธีกรรมหนึ่งของการเข้านาค
 -กันเกราไม้มงคล ต้นกันเกราเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะมีชื่อที่เป็นมงคล เพราะกันเกรา หมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใดๆ ส่วนชื่อตำเสาก็เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก หรือมอด รวมไปถึงแมลงต่างๆ ไม่ให้มาเจาะกิน (ส่วนชื่อมันปลา มาจากลักษณะของดอกที่คล้ายกับไขมันปลาที่เมื่อลอยในน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง)

ที่มา  http://www.poolprop.com

บานเย็น


      เป็นไม้ดอกในสกุล Mirabilis ที่นิยมปลูกมากที่สุด มีสีดอกที่หลากหลาย กล่าวกันว่าบานเย็นถูกนำออกมาจากถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแอนดิส ในเปรู ช่วงปี ค.ศ. 1540 คำว่า Mirabilis ในภาษาละตินหมายถึง ยอดเยี่ยม, สวยงาม, มหัศจรรย์ ส่วนคำว่า Jalapa เป็นชื่อเมืองแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก บานเย็นเป็นไม้ประดับล้มลุกอายุหลายปี สูง เมตรกว่าๆที่คนนิยมปลูกมากเพราะมีหลากสีสัน มีหลายสีในต้นเดียว เช่นสีบานเย็น สีเหลือง สีขาว ชมพูและสีจะเปลี่ยนเมื่ออายุมากขึ้น และยังมีกลิ่นหอม เหตุที่ชื่อบานเย็นเพราะดอกจะบานในช่วงบ่ายๆเย็นๆ จะชอบแดดจัด ดอกบานทั่วทั้งปี
              คำว่า Mirabilis เป็นภาษาละตินที่มีความหมายว่า “สวยงาม” ส่วนคำว่า Jalapa นั้นเป็นชื่อเมืองแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก จุดเด่นของดอกไม้ชนิดนี้ก็คือดอกจะบานในช่วงบ่ายแก่ๆ หรือในช่วงเย็นเป็นต้นไป จึงเป็นที่มาของชื่อไทยว่า “บานเย็น” หรือในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า “ดอกสีโมง” (Four o’clock flower) เมื่อดอกบานจะมีกลิ่นหอม ส่วนในประเทศจีนจะเรียกดอกบานเย็นว่า “ดอกสายฝน” (Shower flower) หรือเรียกว่า “ดอกหุงข้าว” (Rice boiling flower) สำหรับในฮ่องกง จะเรียกดอกบานเย็นว่า “มะลิม่วง” (Purple jasmine) และความน่าสนใจของดอกบานเย็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นไม้ดอกที่สามารถมีดอกได้หลายสีอยู่บนต้นเดียวกันพร้อมๆ กันได้ แต่ละดอกอาจมีหลายสีปนกันอยู่ก็ได้ และดอกยังสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น เช่น พันธุ์ดอกเหลือง จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม หรือพันธุ์ดอกขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อน เป็นต้น


ลักษณะของต้นบานเย็น

-ต้นบานเย็น เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อนมีอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร มีลำต้นสีแดง ออกนวลเล็กน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง เป็นไม้ที่เลี้ยงง่ายขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ควรปลูกไวกลางแจ้งและดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
-รากบานเย็น มีลักษณะพองเป็นหัว หรือเรียกว่าเหง้า มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร
-ใบบานเย็น ใบออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามลำต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือเป็นรูปใบหอก หรือเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีขนประปราย ใบมีความกว้างประมาณ 2-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบตัดหรือเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ มีเส้นกลางใบเป็นสีเหลืองอ่อน เห็นได้ชัดเจน และก้านใบมีความยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร

สรรพคุณของบานเย็น

-ช่วยแก้ไข้ ระงับความร้อนในร่างกาย (หัว)
-หัวบานเย็น ใช้รับประทานเป็นยาขับเหงื่อ (หัว)
-สรรพคุณบานเย็น หัวหรือรากช่วยแก้โรคเบาจืด (หัว)
-สรรพคุณดอกบานเย็น ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กระอักเลือด (ดอก,หัว)ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 120 กรัม นำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกินแก้อาการ
-ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการใช้รากหรือหัวสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้กวาดคอ (หัว)
-หัวหรือรากบานเย็น มีสาร “Alkaloid Trigonelline” ที่มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ยาระบาย (หัว)
-ช่วยขับปัสสาวะ (หัว,ใบ)
-เชื่อว่ารากหรือหัวของบานเย็นมีสรรพคุณช่วยเพิ่มสมรรถนะทางเพศได้ (หัว)
-ใบนำมาใช้ภายในเป็นยารักษาโรคหนองในได้ หรือจะใช้รากหรือหัวจากต้นดอกสีขาวนำมาหั่นเป็นแผ่น ผสมกับโป่งรากสน นำมาต้มกินก่อนอาหารวันละ 2 เวลา (หัว,ใบ)
-ใบสดนำมาตำพอก หรือคั้นเอาแต่น้ำมาทาเป็นยารักษากลากเกลื้อน (ใบ)
-ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปอุ่นไฟให้ร้อนพอทนได้ นำมาใช้พอกรักษาฝี แผลมีหนองต่างๆ --ช่วยทำให้หนองออกมา แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (ใบ)
-ช่วยรักษาแผลเรื้อรังได้ (ใบ,หัว) หากเป็นแผลเรื้อรังบริเวณหลังให้ใช้รากหรือหัวสดจากต้นดอกสีแดง -ผสมกับน้ำตายทรายแดงพอประมาณ นำมาตำแล้วพอก และให้หมั่นเปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง[6] และหัวยัง-ช่วยรักษาหนองได้อีกด้วย (หัว)
-แป้งจากเมล็ดใช้รักษาแผลมีน้ำเหลือง ผิวหนังพองมีน้ำเหลือง ด้วยการใช้เมล็ดนำมาแกะเอาเปลือกออก แล้วเอาแป้งมาบดเป็นผงให้ละเอียด นำใช้ทาถูภายนอก (เมล็ด)
-น้ำคั้นจากใบ ใช้ทารักษาผื่นแดงที่มีอาการคัน ใช้ทาช่วยบรรเทาอาการคัน และยังลดอาการแสบร้อนได้ด้วย (ใบ)
-ใบบานเย็น สรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบได้ (ใบ)
-ช่วยแก้บวม แก้อักเสบ (หัว)
-รากหรือหัวจากต้นดอกสีแดง นำมาใช้รักษาอาการปวดตามข้ออย่างเฉียบพลันได้ ด้วยการเอาขาหมู หรือเต้าหู้ นำมาต้มกิน (หัว)
-หัวใช้รับประทานจะทำให้ผิวหนังชา อยู่คงกระพันเฆี่ยนตีแล้วไม่แตกกลับทำให้รู้สึกคัน (หัว)

ที่มา  http://www.poolprop.com

ต้นทองหลาง


          ทองหลางเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10 - 20 เมตรผิวเปลือกลำต้นบางมีสีเทาหรือเหลืองอ่อนๆ ลำต้นและกิ่งก้านนั้นมีหนามแหลมคมใบเป็นใบรวมออกเป็นช่อมีประมาณ 3 ใบลักษณะใบเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายใบโพธิ์ขนาดใบกว้างประมาณ 2 -3 นิ้วยาวประมาณ35นิ้วผิวใบเรียบสีเขียวหรือด่างเหลืองๆ
ต้นทองหลางนั้น เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเสียงเรียงนาม ในแง่ของความเป็นสิริมงคลอย่างมาก ทองหลางหมายความถึง การมีทองมากมาย ดังนั้น คนโบราณจึงเชื่อกันว่า หากบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้เอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ครอบครัวนั้นก็จะประสบกับความเจริญรุ่งเรืองมีโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทองมากมาย เรียกได้ว่าเข้าขั้นเศรษฐีเลยทีเดียว
\ใบทองหลางนั้น ยังมีสีทองเรื่อเรือง ราวกับประกายของทองคำบริสุทธิ์เรืองรองจับตา เมื่อได้พบเห็นก็จะรู้สึกเย็นตาเย็นใจ
ใบทองหลาง ก็มักจะถูกนำมาประกอบพิธีสำคัญๆ ทางศาสนาอยู่เสมอ และชาวอินเดียโบราณก็เชื่อกันว่า ทองหลางเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ใบย่อย 3 ใบนั้นหมายถึง พระพรหม พระศิวะและพระวิษณุผู้ที่มีความเหมาะสมในการปลูกคือ ผู้ที่เกิดปีมะแม เพราะต้นทองหลางนั้น เป็นต้นไม้ประจำปีมะแม หากสมาชิกภายในบ้าน ไม่มีผู้ใดเกิดปีมะแมเลย ก็ควรจะให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้ลงมือปลูก
วันเสาร์เป็นวันที่เหมาะสมที่สุด ในการปลูกต้นทองหลาง เพราะคนโบราณเชื่อกันว่า ต้นไม้ที่ปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคลนั้น ควรจะปลูกในวันเสาร์จึงจะดี
ทิศที่ควรปลูกต้นทองหลาง คือ ทิศเหนือของตัวบ้าน เพราะเชื่อกันว่า จะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากขึ้น

ลักษณะของพรรณไม้

-ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นบาง สีเทาหรือเปลือกเป็นลายคล้ายเปลือกแตกตื้นๆสีเทาอ่อน และเหลืองอ่อนๆ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมคม หรือบางชนิดมีหนามเล็กๆแหลมคมตลอด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
-ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ลักษณะใบเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายใบโพธิ์ กว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ยาวประมาณ 35 นิ้ว ผิวใบเรียบ สีเขียวหรือด่างเหลืองๆใต้ท้องใบมีสีขาวขุ่น ก้านช่อยาวประมาณ 3-5 นิ้ว บางชนิดลักษณะใบมนคล้ายกับใบของถั่วพู ใบโตประมาณ 3-4 นิ้ว ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ และบางชนิดใบประกอบ เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน
-ดอก : เป็นช่อติดกันเป็นกลุ่มออกตามบริเวณข้อต้น หรือโคนก้านใบ ลักษณะดอกคล้ายกับดอกถั่วมีสีแดง หรือชมพู กลีบดอกกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ช่อดอกยาวประมาณ 4-8 นิ้ว

สรรพคุณต้นทองหลาง

-ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคลประจำบ้าน
-ราก ลำต้น ใบ ดอก เป็นปุ๋ยอย่างดีกับพืช ดูดซับน้ำในดินไว้เลี้ยงลำต้นได้มากกว่าพืชทุกชนิด
-เป็นพืชพี่เลี้ยง เป็นพืชที่ปลูกขึ้นก่อนพืชประธาน เพื่อมีหน้าที่ช่วยในการบังร่ม บังลม ช่วยสร้างธาตุอาหาร หาอาหาร และรักษาความชื้นให้กับพืชประธาน คือ ต้นทองหลางเป็นพืชที่โตเร็ว สร้างปุ๋ยได้เนื่องจากที่ปมรากมีบักเตรีที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ มีใบจำนวนมาก ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก ใบแก่ที่ร่วงหล่นจะผุผังกลายเป็นปุ๋ยอยู่ที่ผิวดิน มีเนื้อไม้เป็นชนิดไม้เนื้ออ่อนผุผังได้ง่าย มีรากจำนวนมากกระจายอยู่ในระดับผิวดินและในระดับลึก ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมขังและที่พิเศษ คือสร้างรากใหม่ได้ทุกปี รากเก่าบางส่วนจะผุผัง สลายตัวทำให้เกิดเป็นโพรงอยู่ในดินเป็นท่อระบายอากาศในดิน และเป็นช่อง ให้พืชประธานสามารถแทงรากลงไปได้ง่าย เกษตรกรนิยมปลูกทองหลางไว้ในสวนทุเรียน มังคุด มะไฟ ส่วนใหญ่เป็นในระบบแบบยกร่อง
-มีคุณค่าอาหารนึกไม่ถึง คือ ใบทองหลางอุดมด้วยโปรตีนเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ส่วนใบอ่อนเป็นผักยอดฮิตใช้รับประทานร่วมกับเมี่ยงคำ ร่วมกับส้มตำมะละกอ บ้างเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นผักสดเคียงเมี่ยง ปลาทู ปลาแหนม เป็นต้น


ที่มา  http://www.homedecorthai.com

ลิ้นมังกร

               
              ลิ้นมังกรเป็นพืชที่มีลักษณะโดดเด่นที่ใบสวยงามแปลกตา ปลูกได้ทั้งภายนอกอาคาร และปลูกลงในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและบ้านเรือน ถึงแม้จะเป็นพืชที่โตช้าแต่ก็ปลูกง่ายและทนทาน
ลิ้นมังกรนั้นมีหลายชนิด เช่น ลิ้นมังกรสั้น ลิ้นมังกรยาว ลิ้นมังกรลาย หรือเรียกว่าหอกพระอินทร์ ลิ้นมังกรมีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบโผล่พ้นดินเป็นใบยาวแหลมคล้ายหอกแข็งตั้งตรงสูงประมาณ 1 เมตร ใบสีเขียว มีลายตามแนวขวาง ลิ้นมังกรยาวจะมีสีเหลืองบริเวณขอบใบเป็นแนวยาว ดอกมีสีขาวอมเขียวถึงแม้คุณสมบัติในการดูดสารพิษของลิ้นมังกรจะไม่มากนัก แต่คุณสมบัติเด่นของลิ้นมังกรอยู่ที่เป็นพืชที่คายออกซิเจนออกมาตอนกลางคืนและดูดคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป จึงเหมาะที่จะปลูกไว้ในห้องนอน

สรรพคุณทางยา:

-ใบ ของลิ้นมังกรมีรสขม มีสรรพคุณแก้อาการเจ็บคอ บำรุงปอด แก้โรคติดเชื้อในบางระบบทางเดินหายใจส่วนบน ใบใช้ตำหรือขยี้แล้วนำไปทาหรือพอกบริเวณแผลที่อักเสบช่วยให้ทุเลาอาการลงได้

ลักษณะทั่วไป:

-ต้น เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน ใบเกิดจากหัวโผล่ออกมาพ้นดินประกอบกันเป็นกอ
-ใบ เป็นแท่งกลมยาวหรือใบแบนกว้าง ปลายแหลม แข็ง หนาเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อยหรือเป็นเกลียว ใบมีความกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าตามแต่สายพันธุ์นั้น ๆ สีสันของใบลิ้นมังกรจะมีสีเขียวซีดจนถึงสีเขียวเข้ม บางสายพันธุ์ใบมีสีเขียวเข้มขอบใบมีสีเหลืองทอง หรือใบมีสีเหลืองและมีสีขาวเป็นเส้นตามแนวใบ สีขาวประ สีเขียวอมเหลือง เขียวอมด่าง สีฟ้า และลักษณะลวดลายบนใบที่มีความแตกต่างและสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ ละสายพันธุ์
-ดอก ลิ้นมังกรมักจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ดอกมีสีขาวหรือสีเขียวอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมี 5 กลีบขนาดเล็กประมาณ 1.5 เซนติเมตร เรียงเป็นแนวตามชั้นของก้านดอก สามารถจำแนกการออกดอกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
- spike-like raceme ลักษณะการออกดอกเรียงเป็นแนวตามชั้นของก้านดอก ขนานกับใบ
- panicle raceme ลักษณะการออกดอกเรียงเป็นแนวตามการแตกกิ่งที่แผ่ออกของก้านดอก
- capitate raceme ลักษณะการออกดอกยื่นสูงเป็นพุ่มเดี่ยวที่ปลายก้านดอก


ที่มา  http://www.poolprop.com

กวักมรกต



       
        เป็นต้นไม้ที่มีใบสวยเป็นมันเงา นิยมปลูกประดับบ้าน ออฟฟิศ ปลูกได้ในที่ร่ม ลำต้นอยู่ใต้ดิน แตกกอง่าย เป็นไม้ประดับที่ช่วยกรองอากาศและช่วยดูดสารพิษ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อและปักชำ กวักมรกตเป็นอีกต้นไม้ที่มีนิยมปลูก ปลูกทั้งในบ้าน สำนักงานหรือแม้กระทั่งในโรงแรมใหญ่ๆ ก็เห็นมีประดับเอาไว้ ลักษณะลำต้นเป็้นหัวอยู่ใต้ดินน ก้านใบอวบน้ำ ไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อยๆ ปลูกได้แม้มีแสงแค่รำไร เป็นอีกหนึ่งต้นไม้ที่ดูดีและมีราคา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Zamioculcas zamifolia

ชื่อสามัญ กวักมรกต

ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE
ลักษณะโดยทั่วไป

- มีใบที่มันเงางามและสีเขียวดูสดชื่น
- ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน แท่งใบเหนือดิน ก้านใบอวบน้ำ ใบแบบแยกเดี่ยว ใบย่อยผิวเป็นมัน
- ดอกออกเป็นแท่งช่อดอกคล้ายดอกเดหลี
- ลำต้นแตกกอง่ายและมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

การปลูกกวักมรกต

-วัสดุปลูก ควรเลือกชนิดที่สามารถอุ้มความชื้นได้ดีแต่ต้องไม่ขังน้ำ เพราะถ้าการระบายน้ำไม่ดีจะทำให้เน่าได้

-แสงสว่าง ควรปลูกในที่รำไร การปลูกในที่มีแสงสว่างมากจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าปลูกในที่มีแสงสว่างน้อย และถ้า เป็นต้นชนิดใบด่าง ลายด่างก็จะด่างสวยกว่าต้นที่ปลูกในที่แสงน้อย

-การขยายพันธุ์ ทำได้โดยการแยกหัว ชำต้น หรือ ชำใบ การชำใบจากต้นใบด่าง จะไม่ได้ต้นใบด่างเสมอไป บางต้นที่ได้เป็นจะเป็นต้นใบเขียว หรือเผือกเลยก็มี

-การชำใบ ตัดใบให้ติดก้านเล็กน้อยแล้วเอาไปชำในวัสดุเพาะชำ เอาไปไว้ในที่รำไร ระวังอย่าให้วัสดุเพาะชำฉ่ำน้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้ใบที่ชำเน่าได้

การดูแลรักษา

- รดน้ำไม่ต้องมากนัก แต่ควรใช้ปุ๋ยละลายน้ำรดเดือนละครั้ง ไม่ค่อยพบปัญหาแมลงรบกวน แต่จะมีปัญหาโรคหัวและรากเน่า ถ้ารดน้ำมากเกินไป

วัสดุปลูก
- ปลูกโดยใช้ดินทั่วๆไป ผสมทรายแกลบดำ ขี้เถ้าดำผสมมะพร้าวสับ

การขยายพันธุ์ ทำได้ 2 วิธีคือ

1. โดยการแยกหน่อปลูก

2. โดยการปักชำ โดยตัดใบมาปักชำในน้ำ สักระยะหนึ่งที่โคนใบจะเห็นเป็นก้อนกลมๆ หรือเกือบกลมสีขุ่นๆ และมีรากออกมา เมื่อรากงอกออกมาสักระยะหนึ่ง ก็สามารถนำไปปักชำในดินได้

สรรพคุณ 

-กรองสารพิษในอากาศ


ที่มา http://www.poolprop.com

สาวน้อยประแป้ง หรือ สโนว์ดรอป


       สาวน้อยประแป้งเป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายนอกและภายในอาคารมานานแล้ว เพราะเลี้ยงง่าย ทน และใบที่มีลวดลายสวยงาม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงคุณค่าของสาวน้อยประแป้งในฐานะที่เป็นไม้ที่ช่วยฟอกอากาศ สามารถดูดสารพิษได้มากชนิดหนึ่ง สาวน้อยประแป้งมีใบใหญ่คล้ายใบพาย มีตั้งแต่สีเขียวอ่อน เขียวแก่ไปจนถึงสีเหลืองอ่อนๆ มีลายแต้มประปรายสีขาวหรือเหลืองอ่อน ดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่า สาวน้อยประแป้งเป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ชอบอากาศอบอุ่นและความชื้นสูง แต่ก็สามารถปรับตัวเจริญเติบโตได้ดีในห้องที่มีความเย็นและสภาพอาการแห้งแล้ง จึงเป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย คุณสมบัติของสาวน้อยประแป้งที่มีใบขนาดใหญ่ จึงทำให้เป็นไม้ประดับที่ดูดสารพิษภายในห้องได้เป็นอย่างดี

ลักษณะโดยทั่วไป

สาวน้อยประแป้ง เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีลักษณะคล้ายพืชในตระกูลเขียวหมื่นปี แต่ใหญ่กว่า ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนกลม ตั้งตรงแข็งแรง มีข้อถี่ แตกใบอ่อนตรงส่วนยอดของลำต้นทีละใบ ก้านใบยาว ส่วนที่ติดกับลำต้นมีลักษณะเป็นกาบ ใบมีรูปร่างยาวเรียวคล้ายใบพาย โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม บางชนิดแหลมเกือบมน พื้นใบมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม ด่างสีขาว ครีม หรือเหลือง หรือมีจุดแต้มบนพื้นใบต่างกันไป ดอกของสาวน้อยประแป้งมีลักษณะคล้ายดอกหน้าวัว มีกาบอยู่เพียงกาบเดียวหุ้มแท่งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยเกสรตัวผู้อยู่ส่วนบน และเกสรตัวเมียอยู่ส่วนล่าง ออกดอกเป็นกลุ่มส่วนมากมีสีเขียวอ่อน เวลาบานกาบจะแย้มออกเล็กน้อย ดอกของสาวน้อยประแป้งบางชนิดมีกลิ่นเหม็นมาก ยางของสาวน้อยประแป้งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้คันมาก ถ้าเข้าปากจะทำให้ลิ้นบวมและขากรรไกรแข็ง หากกินเข้าไปอาจทำให้ตายได้

ส่วนที่เป็นพิษ
 
ใบ ลำต้น และน้ำยาง
 
สารพิษที่พบ

    สารแคลเซียมออกซาเลท (calcium oxalate) ที่เป็นผลึกรูปเข็ม สารจำพวกโปรตีน (protoanemomine) และเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีน (dumbbain)

อาการพิษ
 - ผลึกแคลเซียมออกซาเลทที่เป็นผลึกรูปเข็มนี้จะทิ่มแทงผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปากและลำคอ เมื่อรับประทานต้นสาวน้อยประแป้งเข้าไปจะรู้สึกเจ็บปวด ร้อนที่ลิ้นและในเยื่อบุช่องปาก การสัมผัสน้ำยางทำให้เกิดอาการบวมแดงได้ และนอกจากนี้ยังมีสารจำพวกโปรตีน (protoanemomine) และเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีน (dumbbain) ทำให้ปาก ลิ้นและคอบวมพองเป็นตุ่มใส อีกทั้งยังทำให้กลืนลำบากอีกด้วย แล้วยังอาจทำให้การพูดผิดไปได้
 - แม้ว่าอาการพิษที่เกิดจากต้นสาวน้อยประแป้งจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ต้นสาวน้อยประแป้งจัดเป็นพืชที่หาง่ายและขึ้นอยู่ทั่วไป โอกาสที่จะเกิดการสัมผัสยางหรือรับประทานพืชต้นนี้เข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเกิดขึ้นได้ จึงควรที่จะระมัดระวัง

การรักษา

- ลดอาการปวด อาจต้องให้ยาระงับปวด meperidine ล้างปากและรับประทานสารละลาย aluminium magnesium hydroxide 1 ออนซ์ ทุก 2 ชั่วโมง อาจให้ยา steroid และอาจจำเป็นต้องให้น้ำเกลือ
- ถ้ากรณีเพียงแต่เคี้ยว ไม่ได้กลืนพืชลงไป รักษาโดยการใช้น้ำชะล้างปากและคอ เพื่อบรรเทาอาการปวดร้อนไหม้ที่ลิ้นและเยื่อบุช่องปาก รับประทานยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ อาการจะอยู่เพียง 2-3 วัน ก็สามารถรับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้
- ในกรณี cornea มีรอยปุ่มขึ้นมา โดยทั่วไปอาการจะหายไป 3-4 อาทิตย์ แต่ถ้าให้ 1% ethyl morphine และ 2% disodium edetate จะช่วยให้อาการดีขึ้น โดย 1% ethyl morphine จะช่วยทำให้ permeability ของ cornea ดีขึ้น และ 2% disodium edetate จะช่วยละลายผลึกแคลเซียมออกซาเลททำให้แผลหายเร็วขึ้น
- ในกรณีที่ผิวหนังถูกน้ำยาง ควรให้การรักษาโดยการล้างด้วยน้ำสบู่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อเจือจางสารพิษที่ผิวหนัง
ประโยชน์

1. ปลูกเป็นไม้ประดับจัดสวนใน ร่มหรือใต้ร่มไม้

2. ปลูกเป็นไม้กระถางประดับภายในอาคาร

3. ใช้ใบจัดสวนหลังหีบศพ พวงหรีด จัด โต๊ะอาหารบุพเฟ่

วาสนาราชินี และวาสนาอธิษฐาน


       วาสนาราชินี Janet Craig อีกชื่อหนึ่งคือ วาสนามังกรหยก Queen of Dracaenas เป็นวาสนาสายพันธุ์หนึ่งที่มีความสวยงามทั้งรูปทรงของต้นและใบสีเขียวเป็นมัน เรียวโค้งได้รูปทรงสวยงาม สามารถปลูกเลี้ยงและเจริญเติบโตได้ดีแม้ในที่ที่
         โชคลาภวาสนานั้น เป็นสิ่งที่ใครๆ ต่างก็ต้องการจะมีไว้ เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีของชีวิต ต้นวาสนานั้นได้รับความนิยมนำมาปลูกภายในบริเวณบ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว เชื่อกันว่า หากบ้านใดที่ปลูกต้นวาสนา และคอยดูแลรดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ยอย่างดี จนต้นวาสนาสวยสดงดงาม และออกดอก ก็จะช่วยให้คนในครอบครัวนั้น ได้รับโชคลาภ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเงินทอง หรือได้เลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน และมีอำนาจวาสนาบารมี เป็นที่น่าภูมิใจนัก ต้นวาสนาทั้งสองชนิด ไม่ว่าจะเป็นวาสนาราชินี หรือวาสนาอธิษฐาน หากได้ปลูก และดูแลอย่างดี ก็จะช่วยเพิ่มบุญบารมี เพิ่มโชคเพิ่มทรัพย์สิน ของผู้เป็นเจ้าของให้มากยิ่งขึ้นอีก ผู้ที่เหมาะจงลงมือปลูกต้นวาสนานั้น ควรจะเป็นสุภาพสตรี เพราะไม่ว่า จะเป็นวาสนาอธิษฐาน หรือวาสนาราชินี ก็จะดูเหมาะเจาะคล้องจอง ให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายปลูก เนื่องจากความอ่อนหวานอ่อนโยนของผู้หญิงนั่นเอง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นทิศที่เหมาะสำหรับการปลูกต้นวาสนาที่สุด เพราะจะช่วยเพิ่มพลังของต้นไม้ และเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ครอบครัว ควรลงมือปลูกในวันอังคาร เพราะเป็นวันที่คนโบราณถ่ายทอดความเชื่อกันมาว่า หากต้องการปลูกต้นไม้ที่มีใบสวยงาม เพื่อประดับตกแต่ง ควรจะปลูกในวันอังคาร ต้นไม้จึงจะมีลักษณะดี และเพิ่มบารมีให้กับผู้ปลูก รวมทั้งครอบครัวได้อีกด้วย

เคล็ดปฏิบัติ
   
   ผู้ที่เหมาะจงลงมือปลูกต้นวาสนานั้น ควรจะเป็นสุภาพสตรี เพราะไม่ว่า จะเป็นวาสนาอธิษฐาน หรือวาสนาราชินี ก็จะดูเหมาะเจาะคล้องจอง ให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายปลูก เนื่องจากความอ่อนหวานอ่อนโยนของผู้หญิงนั่นเอง
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นทิศที่เหมาะสำหรับการปลูกต้นวาสนาที่สุด เพราะจะช่วยเพิ่มพลังของต้นไม้ และเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ครอบครัว
ควรลงมือปลูกในวันอังคาร เพราะเป็นวันที่คนโบราณถ่ายทอดความเชื่อกันมาว่า หากต้องการปลูกต้นไม้ที่มีใบสวยงาม เพื่อประดับตกแต่ง ควรจะปลูกในวันอังคาร ต้นไม้จึงจะมีลักษณะดี และเพิ่มบารมีให้กับผู้ปลูก รวมทั้งครอบครัวได้อีกด้วย

สรรพคุณทางยา: 

ใบ แก้ปวดท้อง ราก บรรเทาอาการปวดในการคลอดบุตร

ลักษณะทั่วไป:

-ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 4-10 เมตร ลำต้นกลม ต้นตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นเป็นข้อถี่ ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล
-ใบ เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากลำต้นส่วนยอดเรียงซ้อนกันเวียนรอบลำต้นเป็นรูปวงกลมลักษณะใบเรียวยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันสีเขียว ตัวใบโค้งงอ ขนาดใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร
-ดอก ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้นช่อดอกมีขนาดใหญ่เป็นรูปทรงกลมช่อดอกยาวดอกมีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกลุ่มดอกมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน

ที่มา http://www.poolprop.com